http://www.tcmetal2549.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  โลหะที่ผลิต  เว็บบอร์ด  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 28/02/2009
ปรับปรุง 23/07/2021
สถิติผู้เข้าชม2,191,714
Page Views2,926,257
Menu
หน้าแรก
โลหะที่ผลิต
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์
ชิ้นงานหล่อไล่ขี้ผึ้ง
ชิ้นส่วนเครื่องจักรผลิตขวดแก้ว
อลูมิเนียม
ทองเหลือง
เหล็กหล่อเหนียว(fcd)
เหล็กหล่อ(fc)
สแตนเลส
อะไหล่เครื่องจักร
อะไหล่เครื่องยิงทราย
เหล็กดิบ
เตาถลุงเหล็กดิบ
เหล็กกล้า
เหล็กหล่อ
มาตรฐานเหล็กในงานอุตสาหกรรม
คุณสมบัติของธาตุต่าง ๆ ที่ผสมลงในเหล็ก
โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก
ตารางเทียบเกรดมาตรฐานและหนังสืออ้างอิง
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา
 

ความรู้เกี่ยวกับอลูมิเนียม อโนไดซ์

(อ่าน 119270/ ตอบ 9)

tc

การทำอโนไดซ์ คือ กระบวนการป้องกันการผุกร่อนของโลหะอลูมิเนียม โดยทำให้เกิดออกไซด์ของอลูมิเนียมคือ Al2O3 ที่เสถียรเคลือบผิวด้วยไฟฟ้า โดยใช้การอิเล็กโทรลิซิส ออกไซด์ของอลูมิเนียมที่เกิดขึ้นจากการทำอโนไดซ์จะมีลักษณะผิวด้านและมีรูพรุนเล็กมาก ๆ โดยรูพรุนนี้จะเป็นกักเก็บสีที่เราจะย้อมไว้ การทำอโนไดซ์ จะทำให้ผิวอลูมิเนียมทนการกัดกร่อนได้มากขึ้น และเป็นฉนวนไฟฟ้า



การเกิดท่อของ อลูมิเนี่ยมออกไซด์


โดยปกติเมื่อทิ้งอลูมิเนียมไว้ในบรรยากาศ อลูมิเนียมจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ เกิดเป็นชั้นฟิล์มบางๆ  ซึ่งมีคุณสมบัติทนการกัดกร่อนได้ดี ในแผ่นอลูมิเนียมบริสุทธิ์ การเกิดของชั้นฟิล์มจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในอลูมิเนียมที่มีโลหะอื่นผสม (alloys) โดยเฉพาะอลูมิเนียมที่ผสมแมกนิเซียม มีคุณสมบัติทนการกัดกร่อนลดลง ดังนั้นการทำอโนไดซ์จะเป็นการเพิ่มความสามารถในการทนการกัดกร่อนของอลูมิเมียมอัลลอย  อลูมิเนียมที่เป็นชิ้นส่วนหลักทั้งหมด ที่ใช้ในเครื่องบิน จะเป็นอลูมิเนียมอ โนไดซ์ นอกจากนั้น เรายังพบอลูมิเนียมอโนไดซ์ในเครื่องใช้ประจำวันของเราเช่น เครื่องเล่น MP3,ไฟฉาย ,เครื่องครัว, กล้อง,อุปกรณ์กีฬา เป็นต้น ซึ่งผลพลอยได้จากการทำอโนไดซ์ นอกจากจะทนการกัดกร่อนของบรรยากาศได้ดีขึ้นแล้ว ยังสามารถย้อมสีได้อีกด้วย


ผิวของอลูมิเนียมที่ผ่านการอโนไดซ์แล้ว จากมีความสามารถในการนำความร้อนได้ลดลง และมีสัมประสิทธิการขยายตัวต่ำกว่าอลูมิเนียมบริสุทธิ์ ด้วยผลกระทบนี้ ผิวจะแตกร้าวเมื่อทิ้งไว้ในอุณหภูมิที่สูงกว่า 80°C อย่างไรก็ตามผิวจะไม่กะเทาะลอกออก ผิวของอลูมิเนียมที่ผ่านการอโนไดซ์แล้วจะมีจุดหลอมเหลวที่ 2050°C ซึ่งสูงกว่าอลูมิเนียมบริสุทธิ์ซึ่งจะหลอมเหลวที่ 658°C ดังนั้นอลูมิเนียมที่ผ่านการอโนไดซ์ จึงเชื่อมติดได้ยาก



รูปขยายท่ออลูมเนียมออกไซด์ที่ผิวอลูมิเนี่ยม


อลูมิเนียมออกไซด์ที่เกิดจากการอโนไดซ์ จะเกิดงอกขึ้นที่ผิว และส่วนหนึ่งกินลงไปที่เนื้อผิวเดิม ในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน ตัวอย่างเช่น การอโนไดซ์ความหนา 2 ไมโครเมตร ดังนั้นชิ้นงานจะมีความหนาเพิ่มขึ้นเพียง 1 ไมโครเมตร (เพราะอีก 1 ไมโครเมตรกินลงไปที่ผิวเดิม)


หากการทำอโนไดซ์ ทำขึ้นในสารละลาย (ที่อลูมิเนียมออกไซด์สามารถละลายได้) เช่น กรดกัมมะถัน หรือกรดโครมิค ขนาดของรูพรุนที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 10-150 นาโนเมตร ก่อตัวเป็นชั้นบางๆ ที่ผิว สามารถก่อตัวหนาขึ้น รูพรุนที่เกิดขึ้น ตอนนี้เป็นเหมือนท่อทรงหกเหลี่ยมปลายเปิด ซึ่งยังสามารถถูกกัดกร่อนได้หากไม่มีการปิดผนึกปลายทรงกระบอกนี้ โดยทรงกระบอกเล็ก ๆ นี้จะเป็นที่บรรจุสี และ/หรือสารป้องกันการกัดกร่อน ซึ่งเราต้องปิดปลายกระบอกนี้เพื่อกักเก็บสี และ/หรือสารป้องกันการกัดกร่อนไว้ภายใน


การอโนไดซ์อลูมิเนียมมีด้วยกันสามชนิดหลัก ๆ  (ตามMIL-A-862S) คือ


Type I - Chromic Acid Anodization


Type II - Sulphuric Acid Anodization


Type III - sulphuric acid hardcoat anodization.


และยังมีวิธีการอโนไดซ์อื่น ๆ อีกคือ ตาม MIL-A-63576, AMS 2469, AMS 2470, AMS 2471, AMS 2472, AMS 2482, ASTM B580, ISO 10074 และ BS 5599


ก่อนการทำอโนไดซ์ เราควรต้มชิ้นงานอลูมิเนียมด้วยผงซักฟอก หรือน้ำยาล้างจาน หรือสบู่ หรือสารชะล้างไขมัน เพื่อขจัดคราบไขมัน ก่อนที่จะนำชิ้นงานไปกัดในโซดาไฟ


ในการชุบอโนไดซ์ เราใช้กระแสไฟฟ้าตรงผ่านไปยังอลูมิเนียมชิ้นงาน และแผ่นอลูมิเนียมที่แช่อยู่ในสารละลายสำหรับชุบ กระแสไฟฟ้าจะปล่อยไฮโดรเจนออกที่ขั้วลบ และเริ่มสร้างอลูมิเนียมออกไซด์ที่ผิว โดยจะเกิดปฏิกิริยาเคมีดังสมการ


ขั้วบวก 2Al + 3H2O  à   Al2O3 + 6H+ + 6e-


ขั้วลบ 6H+ + 6e-     à   3H2


ดังนั้นปฏิกิริยาโดยรวมคือ 2Al + 3H2O  à Al2O3 + 3H2


เงื่อนไขและองค์ประกอบอื่นๆ อธิเช่น ความเข้มข้นของสารละลายอโนไดซ์, อุณหภูมิของสารละลายอโนไดซ์ กระแสไฟฟ้าที่ใช้ ล้วนแต่มีผลต่อการก่อตัวของชั้นอลูมิเนียมออกไซด์ ความหนาของชั้นอาจแตกต่างกันหลายเท่า เมื่อเงื่อนไขและองค์ประกอบเปลี่ยนไป ชั้นของออกไซด์ที่เกิดจะเพิ่มความแข็งและความสามารถในการทนการกัดกร่อน ออกไซด์ที่เกิดจะก่อตัวเป็นท่อรูปหกเหลี่ยม เรียงตัวกัน ความหนา(สูง) ของท่อนี้เริ่มตั้งแต่ 5 ไมโครเมตร ซึ่งจะให้ชิ้นงานสว่างใส และจนถึง 150 ไมโครเมตร สำหรับใช้งานทางด้านสถาบัตยกรรม


การทำอโนไดซ์ด้วยกรดโคโรมิก


วิธีการทำอโนไดซ์แบบนี้เป็นวิธีการแต่ดั้งเดิม รู้จักกันว่าเป็นวิธีแบบ Type I ตามมาตราฐาน MIL-A-8625 และรวมอยู่ใน Type IB ตามมาตรฐาน AMS 2470 และ MIL-A-8625 วิธีการใช้กรดโคโรมิกเป็นสารละลายหลักนี้ จะให้ความหนาของชั้นฟิล์มบางตั้งแต่ 5 ไมโครเมตรถึง18 ไมโครเมตร และผิวชิ้นงานที่ทึบแสง แผ่นฟิล์มที่ได้จะอ่อนนุ่ม ยากต่อการชุบสี เหมาะสำหรับเป็นการเตรียมพื้นผิวก่อนนำไปพ่นสี การใช้กระแสไฟจะต้องเพื่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามขบวนการชุบ


การทำอโนไดซ์ด้วยกรดซัลฟูริค


เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมากที่สุดโดยใช้กรดซัลฟูริคเป็นสารละลายหลัก เราเรียกว่าเป็นวิธี Type II ซึ่งจะให้ความหนาของชั้นฟิล์มปานกลางตั้งแต่ 1.8 ไมโครเมตรถึง 25 ไมโครเมตร  ตามมาตราฐาน MIL-A-8625 การชุบหนากว่า 25 ไมโครเมตร เราจะเรียกว่าเป็นการชุบแบบหนา Type III, hardcoat หรือ engineered anodizing


การชุบแบบบางมาก ๆ (โดยใช้กรดซัลฟูริคเป็นสารละลายหลัก) คล้าย ๆ กับวิธีการใช้กรดโคโรมิก เราเรียกวิธีนี้ว่า Type IIB


การชุบแบบหนามาก ๆ ต้องการกระบวนการและเครื่องมือในการควบคุมอุณหภูมิ โดยใช้เครื่องทำความเย็นหล่อสารละลายน้ำยาชุบให้ใกล้จุดเยือกแข็ง (ของน้ำ) และใช้กระแสไฟฟ้าสูงกว่าการชุบแบบบาง การชุบแบบหนา ให้ความหนาของชั้นฟิล์มตั้งแต่ 25-150 ไมโครเมตร การชุบอโดไนซ์หนาจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพต่อการกัดกร่อน มีผิวลื่นทนต่อการเสียดสี กันความร้อน และเป็นฉนวนไฟฟ้า


มาตรฐานที่ใช้ในการควบคุมการชุบแบบบาง (Type IIB) และหนาปานกลาง (Types II) กำหนดโดย MIL-A-8625 คือ AMS 2471 (ไม่ชุบสี), AMS 2472 (ชุบสี)


มาตรฐานที่ใช้ในการควบคุมการชุบแบบหนา Type III กำหนดโดย MIL-A-8625 คือ AMS 2469


การทำอโนไดซ์ด้วยกรดอินทรีย์เคมี,


การใช้สารละลายกรดอินทรีย์เคมีอย่างกรดออกซาลิค จะให้สีสันภายในโดยไม่ต้องชุบสี สีที่เกิดขึ้นแปรเปลี่ยนไปตามชนิดของโลหะผสม ความหนาของชั้นอโนไดซ์สามารถทำได้ถึง 50 ไมโครเมตร การชุบแบบนี้เรียกว่า Type IC กำหนดโดย MIL-A-8625


การทำอโนไดซ์ด้วยกรดฟอสฟอริก


การใช้กรดฟอสฟอริกเป็นสารละลายตัวกลางในการชุบ โดยปกติจะใช้ในการเตรียมพื้นผิวเพื่อใช้งาน adhesives อธิบายตามมาตรฐาน ASTM D3933


การปิดผนึกท่อ


กระบวนการชุบอโนไดซ์แบบ Types I, II, และ III จะสร้างรูพรุนเล็ก ๆที่ผิว ซึ่งสามารถดูดซับสีย้อมและคงความมันลื่นไว้ได้ แต่ยังไม่สามารถทนต่อการกัดกร่อนได้ การปิดผนึกปลายท่อสามารถทำได้โดยการจุ่มแช่ในน้ำเดือด ซึ่งเป็นวิธีการง่ายที่สุด แต่ไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด เนื่องประสิทธิภาพในการป้องกันการขีดข่วนจะน้อยลง 20% การชุบปิดด้วย เทฟล่อน นิเกิลอาซิเตท โคบอลอาซิเตท และ โซเดียมไดโครเมท/โปรแตสเซียมไดโครเมท จะให้ได้ผลที่สมบูรณ์


Arnon

อยากทราบว่าอโนไดซ์ถูกกัดกร่อนปีละกี่ไมครอนครับ


มีผลกับการกำหนดความหนาขอโนไดซ์ด้วยวช่มั้ยครับ

แป๊ะ

ชุบผิว Nitriding คุณภาพ สูง 0863612509

kunpon

จำหน่าย ฮีตเตอร์ ราคาโรงงาน
ขุนพล 0863343495,029451835

http://www.heaterable.com

หนานน้อย

ค่าความหนาของชิ้นงาน  นอกจาก กระแสไฟ เวลาในการชุบ  ค่าเคมี และอุณหภูมิแล้ว ขนาดตัวชิ้นงานที่ใช้ในการชุบเกี่ยวไหม

สมศักดิ์

อยากได้วิธีทำ และขั้นตอนการทำชุบอโนไดซ์ ครับ ทำกับชิ้นงานเล็กๆใว้ใช้เองและอยากทำเองด้วยครับ อยากมีความรู้เรื่องนี้

pop

ไม่เคยรู้มาก่อนเลยน่ะครับ ขอบคุณครับ

tc

อลูมิเนียม เป็นโลหะที่สำคัญ ได้รับการใช้งานมากที่สุด ในกลุ่มโลหะที่มีน้ำหนักเบา (Light Metals) ทั้งนี้เพราะ อลูมิเนียมมีคุณสมบัติ ที่ดีเด่นหลายประการ

1. มีความหนาแน่นน้อย น้ำหนักเบา และมีกำลังวัสดุต่อน้ำหนักสูง จึงนิยมใช้ทำเครื่องใช้ไม้สอย ตลอดจนชิ้นส่วนบางอย่าง ในเครื่องบิน จรวด ขีปนาวุธ และอุปกรณ์ในรถยนต์ เพื่อลดน้ำหนักของรถให้น้อยลง จะได้ประหยัดเชื้อเพลิง ตลอดจนชิ้นส่วนอากาศยาน

2. มีความเหนียวมาก สามารถขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีต่างๆ ได้ง่าย และรุนแรง โดยไม่เสี่ยงต่อการแตกหัก

3. จุดหลอมเหลวต่ำ หล่อหลอมง่าย และมีอัตราการไหลตัวสูง

4. ค่าการนำไฟฟ้า คิดเป็น 64.94 % IACS (Internation Association of Classification Societies) ซึ่งไม่สูงนัก แต่เนื่องจากมีน้ำหนักเบา ดังนั้นจึงใช้เป็น ตัวนำไฟฟ้า ในกรณีที่คำนึงถึง เรื่องน้ำหนักเป็นสำคัญ

5. เป็นโลหะที่ไม่มีพิษต่อร่างกาย และไม่มีค่าการนำความร้อนสูง ใช้ทำภาชนะหุงต้มอาหาร และห่อรองรับอาหาร

6. ผิวหน้าของ อลูมิเนียมบริสุทธิ์ มีดัชนีการสะท้อนแสงสูงมาก จึงใช้ทำแผ่นสะท้อน ในแฟลชถ่ายรูป , จานสะท้อนแสงในโคมไฟ และไฟหน้ารถยนต์

7. ทนทานต่อการเกิดเป็นสนิม และการผุกร่อน ในบรรยากาศที่ใช้งานโดยทั่วไปได้ดีมาก แต่ไม่ทนทาน ต่อการกัดกร่อนของกรดแก่ และด่างทั่วๆไป

8. ซื้อหาได้ง่าย ในท้องตลาด และราคาไม่แพงนัก

9. ใช้ในการตกแต่ง ในงานเฟอร์นิเจอร์ ตลอดจนใช้เป็น อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน

10. เป็นโลหะที่ยังมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง



คุณสมบัติทางเคมี (Chemical Properties)

1. ออกซิเจน เมื่ออลูมิเนียม ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน จะทำให้เกิดชั้นฟิล์ม บางๆเรียก ว่าอลูมิเนียมออกไซด์ อยู่ที่ชั้นผิวของ อลูมิเนียม ซึ่งจะทำให้ไม่เกิด ปฏิกิริยาต่อไป

2. ไนโตรเจน เมื่ออลูมิเนียม ทำปฏิกิริยา กับไนโตรเจน จะทำให้เกิดไนไตรด์ที่ อุณหภูมิสูง

3. กำมะถัน เมื่ออลูมิเนียม ทำปฏิกิริยา กับกำมะถัน จะไม่มีปฏิกิริยาเกิดขึ้น

4. ไฮโดรเจน เมื่ออลูมิเนียมทำปฏิกิริยา กับไฮโดรเจน ละลายแทรกซึม เข้าในอลูมิเนียมได้และใน การหล่ออลูมิเนียมถือ ว่าไฮโดรเจนเป็นก๊าซ ที่จะต้องกำจัดออก ให้หมดมากที่สุด

5. กรดอนินทรีย์ (เข้มข้น) เมื่อเกิดปฏิกิริยากับ กรดอนินทรีย์ ซึ่งอลูมิเนียมสามารถ ทนได้บ้าง

6. กรดอนินทรีย์ (เจือจาง) เมื่อเกิดปฏิกิริยากับ กรดอนินทรีย์เจือจาง ซึ่งจะทำให้เกิด ปฏิกิริยา ทันที

7. ด่าง เมื่อเกิดปฏิกิริยา กับด่าง ซึ่งสามารถ ละลายอลูมิเนียมได้

8. เกลือ เมื่อเกิดปฏิกิริยา กับเกลือ ซึ่งสามารถ กัดกร่อนอลูมิเนียมได้

9. กรดอินทรีย์ เมื่อเกิดปฏิกิริยา กับกรดอินทรีย์ ซึ่งสามารถละลาย ในอลูมิเนียมได้ทันที (ยกเว้นกรดน้ำส้ม)

10. กรดอินทรีย์ + น้ำ เมื่อเกิดปฏิกิริยา กับกรดอินทรีย์ + น้ำ ซึ่งไม่เกิด ปฏิกิริยากับอลูมิเนียม

11. ฮาโลเจน เมื่อเกิดปฏิกิริยา กับฮาโลเจน ซึ่งทำให้เกิด ปฏิกิริยาทันที
Page : 1
Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

 
view