เหล็กหล่อ (Cast Iron)
เหล็กหล่อ หมายถึงเหล็กที่มีคาร์บอนประสมอยู่มากกว่า 2% ขึ้นไป ในวงการอุตสาหกรรมจะผลิตเหล้กหล่อที่มีคาร์บอนอยู่ในระหว่าง 2-4.8% และนอกจากนั้นจะเป็นส่วนประสมของสารอื่น ๆ เช่น ซิลิกอน 1-3% แมงกานีส 0.4-1%, กำมะถัน 0.1-0.35% และฟอสฟอรัส 0.05-1%
คุณสมบัติเหล็กหล่อ
เหล็กหล่อเป็นเหล็กที่มีคาร์บอนประสมอยู่มาก ดังนั้นจึงทำให้ขาดคุณสมบัติด้านความเหนียวไป คือจะเปราะและแตกหักง่าย ทนต่อแรงดึงและแรงกระแทกได้น้อย นำไปขึ้นรูปด้วยวิธีการตี, ดึง, รีด, ได้ยากมาก วิธีการขึ้นรูปจึงต้องนำเหล็กหล่อนั้นไปหลอม แล้เทลงในแบบที่ทำด้วยทราย, โลหะ หรือ วัสดุทนความร้อนอย่างอื่น หลังจากหล่อตามแบบแล้วจึงนำมากตกแต่งอีกครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่าชิ้นงานจะมีความสลับซับซ้อนก็สามารถหล่อได้ เพราะเหล็กหล่อเมื่อหลอมละลายจะไหลได้ดีเนื่องจากมีความหนืดต่ำ
ชนิดของเหล็กหล่อ
เหล็กหล่อนั้นแบ่งออกได้หลายชนิด ซึ่งพอจะแบ่งตามลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน และลักษณะการรวมตัวของคาร์บอนได้ดังนี้
1. เหล็กหล่อสีเทา (Grey Cast Iron) เป็นเหล็กหล่อที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกับเหล็กดิบ เป็นเหล็กหล่อที่มีคาร์บอนอยู่ 3-3.5% คาร์บอนจะอยู่ในรูปของ กราไฟต์ (Graphite) มีลักษณะเป็นแผ่นอยู่อย่างอิสระ แทรกอยู่บนโครงสร้างพื้น (Matrix Structure) ที่เป็นเฟอร์ไรท์ (Ferrite) กราฟไฟต์มีสีดำส่วนเฟอร์ไรท์จะมีสีขาว ดังนั้นเมื่อตรวจดูรอยหักของเหล็กจะเห็นเป็นสีเทา
คุณสมบัติของเหล็กหล่อสีเทา
1. มีความแข็งไม่มากนัก สามารถนำไปกลึง, ไส, เจาะ ตกแต่งได้ง่าย
2. มีอุณหภูมิหลอมละลายต่ำ มีความหนืดน้อย สามารถหล่อในแบบงานที่สลับซับซ้อนได้ดี
3. มีอัตราการขยายตัวน้อย เหมาะสำหรับทำอุปกรณ์ที่ต้องการขนาดคงที่
4. รับแรงสั่นสะเทือนได้ดี
การนำไปใช้งานของเหล็กหล่อสีเทา
ใช้ทำชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ เช่น ก้านสูบ เสื้อสูบ และแท่นฐานเครื่องจักรกลต่าง ๆ เหล็กหล่อสีขาว (White Cast Iron) เป็นเหล็กหล่อที่มีคาร์บอนตั้งแต่ 2% ขึ้นไปสถานคาร์บอนที่แทรกตัวในเนื้อเหล็กไม่ได้อยู่อย่างอิสระ แต่จะรวมตัวกันอยู่ในรูปของซีเมนต์ไตท์โครงสร้างแบบนี้จะทำให้เหล็กมีคุณสมบัติเปราะ
คุณสมบัติของเหล็กหล่อสีขาว
1. มีความแข็งสูง นำมากกลึง, ไส, เจาะ, ได้ยาก
2. ทนต่อแรงกระแทกได้น้อย
3. ทนการเสียดสีได้ดี
การนำไปใช้งานเหล็กหล่อสีขาว
ใช้ทำลูกไม่ย่อยหิน ทำล้อรถไฟ ทำลูกปืนล้อ ทำสารเจียรนัยเพชรพลอย ทำแม่พิมพ์ เหล็กหล่อเหนียว ได้จากการนำเอาเหล็กหล่อสีขาวมาผ่านกรรมวิธีอบอ่อน ที่อุณหภูมิ 815-1110 องศาเซลเซียส และควบคุมอุณหภูมิการเย็นตัว ในที่จำกัดไม่ให้อากาศภายนอบเข้าไปได้ ใช้เวลาในการอบ 3-4 วัน ซีเมนต์ไตท์จะแยกตัวออกเป็นเหล็กออสเตนไนท์กับกราไฟต์ การไฟต์ที่เกิดขึ้นจะกระจายทั่วไป เมื่ออุณหภูมิลดลงออสเตนไนท์ จะเปลี่ยนเป็น เฟอร์ไรท์ ส่วนคาร์บอนที่อยู่ในรูปของกราไฟต์ จะจับกลุ่มกระจายอยู่ทั่วไป ทำให้เป็นเหล็กหล่อเหนียว
คุณสมบัติของเหล็กหล่อเหนียว
1. ความเหนียวจะเพิ่มมากขึ้นกว่าเหล็กหล่อสีเทาและเหล็กหล่อสีขาว
2. อัตราการยืดตัวจะมีมากขึ้น
3. ทนต่อแรงกระแทกได้ดี
ข้อเสียของเหล็กหล่อเหนียว คือ เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการอบอ่อน ชิ้นงานที่มีความหนามาก ๆ ไม่สามารถอบอุ่นได้ ชิ้นงานที่อบอ่อนได้ไม่ควรหนาเกิน 50 มม.
การนำไปใช้งานของเหล็กหล่อเหนียว
ใช้ทำชิ้นส่วนของเครื่องจักรต่าง ๆ ทำอุปกรณ์และท่อน้ำประปา
|